เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร
เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้เข้าชมรวม
9,206
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำการเคลื่อนย้ายยีนจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะต่างๆ ตามแต่จะได้มีการออกแบบไว้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ
จีเอ็มโอ หรือ GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดจากการตัดต่อเอายีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่ไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติมาใส่ เพื่อให้เกิดคุณสมบัติตามต้องการ เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาใส่ในมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช
กล่าวโดยทั่วๆไป เทคโนโลยีชีวภาพคือการใช้ขบวนการและระบบทางชีววิทยาในการเสริมสร้างเทคโนโลยีและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เกือบทุกสาขาหรือภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่การใช้ยีนส์ของมนุษย์เพื่อสร้างวัคซีนที่ใช้ในการควบคุมขบวนการทางธรรมชาติของแบคทีเรียในการทำน้ำให้บริสุทธิ์
เทคโนโลยีสามารถเป็นลักษณะที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแปลกประหลาดเท่ากับตัวของมันเอง สิ่งที่ค้นพบแต่ละอย่างสามารถนำไปสู่การวิจัยสาขาใหม่หรือวิธีการใหม่ๆในการทำสิ่งต่างๆซึ่งทำเพื่อสาขาที่กำลังพัฒนาอย่างคงที่เหมือนกับเซลที่แบ่งแยกออกมา
บีบีซีนิวส์ - นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กสามารถเพาะสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดให้กลายเป็น “หมู่เซลล์ประสาท” ได้เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้จะนำไปสู่การวิธีการใหม่ในการรักษาโรคร้ายอย่างพาร์กินสันส์ และอัลไซเมอร์สได้
สเต็มเซลล์ที่พัฒนาขึ้นมาได้ครั้งนี้ สามารถช่วยให้นักวิจัยได้ทดสอบหายาชนิดใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพในการรักษาโรคร้าย โดยสเต็มเซลล์สามารถนำไปปลูกถ่ายให้กลายเป็นเนื้อเยื่อชนิดใดๆ ของร่างกายก็ได้ ซึ่งกลุ่มสเต็มเซลล์ประสาทที่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กพัฒนาขึ้นมานี้จะช่วยในการสร้างระบบสมองและระบบประสาทขึ้นมาได้ การวิจัยเพื่อพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในระยะยาว เพื่อที่จะนำใช้ไปใช้ทดแทนเนื้อเยื่อประสาทในส่วนที่เสียหายไปจากการทำร้ายของโรคอัลไซเมอร์สและพาร์กินสันส์ แต่ในระยะสั้นนี้ได้ใช้เสต็มเซลล์ที่พัฒนาได้นำไปสร้างเป็นเนื้อเยื่อจำลองขึ้นมาก่อน เพื่อใช้ทดสอบประสิทธิภาพของยารักษาโรคดังกล่าว
บีซีนิวส์/นิวไซแอนติส นักวิทยาศาสตร์อังกฤษพัฒนา “ข้าวสีทอง” ตัดต่อพันธุกรรมสร้างสายพันธุ์ใหม่ให้มีเบตา-แคโรทีนมากกว่าข้าวทั่วไป โดยหวังให้ประเทศกำลังพัฒนานำไปเพาะปลูก เพื่อลดภาวะ การขาดวิตามินเอ อันเป็นภัยร้ายแก่เด็กกว่า 500,000 คนต่อปี
ร่างกายของมนุษย์เราเปลี่ยนเบตา-แคโรทีนเป็นเป็นวิตามินเอ ซึ่งข้าวสีทองพันธุ์นี้ผลิตเบตา-แคโรทีนได้มากถึง 20 เท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นๆ นั่นหมายความว่า หากกินข้าวสีทองชนิดนี้เข้าไปจะช่วยให้ร่างกายมีวิตามินเอเพิ่มมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการขาดวิตามินเอ โดยเฉพาะโรคตาบอดในเด็ก อันเป็นโรคสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา
ผลงานอื่นๆ ของ Jo-JoonHwA ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Jo-JoonHwA
ความคิดเห็น